เมื่อขายบ้านได้ ผู้ขายต้องเตรียมจ่ายอะไรบ้าง

แชร์บทความนี้

เมื่อคุณมีผู้ซื้อเข้ามาเสนอราคาที่น่าพอใจแล้ว และกำลังจะขายบ้านได้เสียที ก่อนที่จะเริ่มดีใจ ผู้ขายควรคำนึงถึงต่าใช้จ่ายที่ตามมาด้วย เพราะการขายบ้านไม่ใช่แค่การตกลงกันปากเปล่าแล้วแลกบ้านกันได้เลย แต่เป็นธุรกรรมที่มีข้อกฎหมายและค่าใช้จ่ายที่ตามมาด้วย 


ตั้งแต่ค่าคอมมิชชันของตัวแทน ไปจนถึงค่าใช้จ่ายในการโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง บทความนี้ บ้านไฟน์เดอร์ พาคุณมาดูค่าใช้จ่ายในการขายหลักๆ คือ ค่าใช้จ่ายวันโอน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ผู้ขายต้องรู้และเตรียมให้พร้อมก่อนที่จะขายบ้านกันเลย  


ค่าใช้จ่ายวันโอน

ค่าใช้จ่ายสำคัญเมื่อตกลงในการซื้อขายบ้าน คือค่าใช้จ่ายที่ทั้งผู้ขายและผู้ซื้อต้องเตรียมตัวมาเพิ่มจากค่าบ้าน ที่ต้องจ่ายให้กับรัฐหรือกรมที่ดินนั่นเอง 


1. ค่าภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย 

ผู้ขายจะต้องเสียค่าภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย จ่ายให้กับ กรมที่ดิน โดยจะคำนวณจาก จำนวนปีที่ถือครอง และจากยอดซื้อขาย (หรือราคาประเมิน ในกรณีที่ราคาประเมินสูงกว่าราคาซื้อขาย)   


2. ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% 

เฉพาะกรณีที่ผู้ขาย ขายบ้านคอนโด หลังถือครองบ้านหรือคอนโด ไม่ถึง 5 ปี โดยผู้ขายจะต้องเสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ ในวันที่โอนที่ดิน ณ สำนักงานที่ดิน จำนวน 3.3% ของราคาขายหรือราคาประเมินขึ้นอยู่กับว่าราคาไหนสูงกว่า 


ยกเว้น กรณีที่มีผู้ขายชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านมากกว่า 1 ปี หรือถือครองเกิน 5 ปี ผู้ขายจะไม่ต้องเสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ  


3. ค่าธรรมเนียมโอน 2% และค่าภาษีอากรแตมป์ 0.5% ตามที่ตกลงกับผู้ซื้อ

ค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินคิดเป็น 2% จากราคาประเมินหรือราคาขาย (คิดจากราคาที่สูงกว่า) จ่ายให้กับสำนักงานที่ดิน รวมไปถึง ค่าอากรแตมป์ 0.5% จากราคาขาย 


ผู้ขายตกลงกับผู้ซื้อในการจ่ายค่าโอนที่ดินได้ แล้วแต่การตกลง เช่น ค่าโอนคนละครึ่ง  หรือ ค่าโอนทั้งหมดผู้ซื้อเป็นผู้รับผิดชอบ หรือ ค่าโอนทั้งหมดผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบ เป็นต้น   


นอกจากนี้ ที่กรมที่ดิน อาจมีค่าใช้จ่าย ที่ต้องเตรียมเงินสดไปด้วย เช่น ค่าคำขอ ค่าพยาน เป็นหลักหน่อยหลักสิบอีกเล็กๆ น้อยๆ ด้วยเช่นกัน 






4. ค่านายหน้า 

สำหรับเจ้าของบ้านที่มีนายหน้าแนะนำผู้ซื้อให้ หรือนายหน้าที่จัดการลงประกาศขายบ้านให้ จะมีค่านายหน้าอยู่ที่ประมาณ 3% ของราคาซื้อขาย และเป็นส่วนที่ผู้ขายจ่ายให้กับนายหน้าในวันที่โอนบ้านเสร็จสิ้นแล้ว ณ กรมที่ดิน 


ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 

5. ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าส่วนกลางที่ค้างชำระ 

ผู้ขายควรดำเนินการชำระบิลค่าน้ำ ค่าไฟ กับการประปา และการไฟฟ้า ให้เรียบร้อย รวบรวมใบเสร็จที่ชำระเงินแล้วไว้เป็นหลักฐาน ส่งต่อให้กับผู้ซื้อไว้ด้วย   


รวมถึง "ค่าส่วนกลาง" ที่จะต้องจัดการให้เรียบร้อยก่อนขายบ้าน สำหรับบ้านในหมู่บ้านจัดสรรหรือคอนโด ผู้ขายต้องเตรียมขอ "ใบปลอดหนี้" เพื่อยืนยันว่าไม่มีค้างชำระค่าส่วนกลางจากทางนิติของโครงการก่อน เพื่อนำไปเป็นหลักฐานในการโอนบ้านที่กรมที่ดินด้วยเช่นกัน    


แชร์บทความนี้

热门文章


文章

เช่าบ้าน หรือ ซื้อบ้าน ดีกว่ากัน? 5 คำถามสำคัญก่อนตัดสินใจ

สำหรับผู้ที่กำลังเช่าบ้าน และเริ่มมีรายได้ที่มั่นคงมากขึ้น อาจเกิดคำถามว่า เราจะเช่าบ้านต่อไป หรือว่ ... 继续阅读......

ของมันต้องมี! เทรนด์ของแต่งบ้าน เปลี่ยนลุคห้องนอนให้สวยมินิมอล เรียบง่าย ในงบหลักร้อยถึงพัน

การแต่งบ้านแบบมินิมอล ยังคงเป็นทางเลือกยอดนิยมในยุคนี้ เนื่องจากความเรียบง่าย ดูสบายตา และสามารถปรับ ... 继续阅读......

อนุญาตให้ผู้เช่าเลี้ยงสัตว์เลี้ยงดีไหม ข้อดีและข้อเสียบ้านเช่าเลี้ยงสัตว์ได้มีอะไรบ้าง

เจ้าของบ้านที่ต้องการปล่อยเช่าบ้าน คอนโด มีประเด็นที่ต้องพิจารณาหลายประการ หนึ่งในนั้นคือการตัดสินใจ ... 继续阅读......

เที่ยวสยาม 1 วัน ทำอะไรดี? แจก 7 พิกัด กิน เที่ยว ช้อปปิ้ง

แหล่งรวมผู้คน กิจกรรม ห้างร้าน และความทันสมัยของกรุงเทพฯ ย่านใจกลางเมืองต้องยกให้กับ “สยาม” ไม่ว่าคุ ... 继续阅读......

อยากย้ายไปอยู่เชียงใหม่ ทำเลไหนน่าอยู่ ที่สุด

เชียงใหม่ ถือเป็นจังหวัดที่หลาย ๆ คนหลงรัก และบางคนถึงกับต้องการย้ายจากความวุ่นวายในเมืองกรุงฯ มาสู่ ... 继续阅读......