เมื่อขายบ้านได้ ผู้ขายต้องเตรียมจ่ายอะไรบ้าง

แชร์บทความนี้

เมื่อคุณมีผู้ซื้อเข้ามาเสนอราคาที่น่าพอใจแล้ว และกำลังจะขายบ้านได้เสียที ก่อนที่จะเริ่มดีใจ ผู้ขายควรคำนึงถึงต่าใช้จ่ายที่ตามมาด้วย เพราะการขายบ้านไม่ใช่แค่การตกลงกันปากเปล่าแล้วแลกบ้านกันได้เลย แต่เป็นธุรกรรมที่มีข้อกฎหมายและค่าใช้จ่ายที่ตามมาด้วย 


ตั้งแต่ค่าคอมมิชชันของตัวแทน ไปจนถึงค่าใช้จ่ายในการโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง บทความนี้ บ้านไฟน์เดอร์ พาคุณมาดูค่าใช้จ่ายในการขายหลักๆ คือ ค่าใช้จ่ายวันโอน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ผู้ขายต้องรู้และเตรียมให้พร้อมก่อนที่จะขายบ้านกันเลย  


ค่าใช้จ่ายวันโอน

ค่าใช้จ่ายสำคัญเมื่อตกลงในการซื้อขายบ้าน คือค่าใช้จ่ายที่ทั้งผู้ขายและผู้ซื้อต้องเตรียมตัวมาเพิ่มจากค่าบ้าน ที่ต้องจ่ายให้กับรัฐหรือกรมที่ดินนั่นเอง 


1. ค่าภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย 

ผู้ขายจะต้องเสียค่าภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย จ่ายให้กับ กรมที่ดิน โดยจะคำนวณจาก จำนวนปีที่ถือครอง และจากยอดซื้อขาย (หรือราคาประเมิน ในกรณีที่ราคาประเมินสูงกว่าราคาซื้อขาย)   


2. ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% 

เฉพาะกรณีที่ผู้ขาย ขายบ้านคอนโด หลังถือครองบ้านหรือคอนโด ไม่ถึง 5 ปี โดยผู้ขายจะต้องเสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ ในวันที่โอนที่ดิน ณ สำนักงานที่ดิน จำนวน 3.3% ของราคาขายหรือราคาประเมินขึ้นอยู่กับว่าราคาไหนสูงกว่า 


ยกเว้น กรณีที่มีผู้ขายชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านมากกว่า 1 ปี หรือถือครองเกิน 5 ปี ผู้ขายจะไม่ต้องเสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ  


3. ค่าธรรมเนียมโอน 2% และค่าภาษีอากรแตมป์ 0.5% ตามที่ตกลงกับผู้ซื้อ

ค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินคิดเป็น 2% จากราคาประเมินหรือราคาขาย (คิดจากราคาที่สูงกว่า) จ่ายให้กับสำนักงานที่ดิน รวมไปถึง ค่าอากรแตมป์ 0.5% จากราคาขาย 


ผู้ขายตกลงกับผู้ซื้อในการจ่ายค่าโอนที่ดินได้ แล้วแต่การตกลง เช่น ค่าโอนคนละครึ่ง  หรือ ค่าโอนทั้งหมดผู้ซื้อเป็นผู้รับผิดชอบ หรือ ค่าโอนทั้งหมดผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบ เป็นต้น   


นอกจากนี้ ที่กรมที่ดิน อาจมีค่าใช้จ่าย ที่ต้องเตรียมเงินสดไปด้วย เช่น ค่าคำขอ ค่าพยาน เป็นหลักหน่อยหลักสิบอีกเล็กๆ น้อยๆ ด้วยเช่นกัน 






4. ค่านายหน้า 

สำหรับเจ้าของบ้านที่มีนายหน้าแนะนำผู้ซื้อให้ หรือนายหน้าที่จัดการลงประกาศขายบ้านให้ จะมีค่านายหน้าอยู่ที่ประมาณ 3% ของราคาซื้อขาย และเป็นส่วนที่ผู้ขายจ่ายให้กับนายหน้าในวันที่โอนบ้านเสร็จสิ้นแล้ว ณ กรมที่ดิน 


ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 

5. ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าส่วนกลางที่ค้างชำระ 

ผู้ขายควรดำเนินการชำระบิลค่าน้ำ ค่าไฟ กับการประปา และการไฟฟ้า ให้เรียบร้อย รวบรวมใบเสร็จที่ชำระเงินแล้วไว้เป็นหลักฐาน ส่งต่อให้กับผู้ซื้อไว้ด้วย   


รวมถึง "ค่าส่วนกลาง" ที่จะต้องจัดการให้เรียบร้อยก่อนขายบ้าน สำหรับบ้านในหมู่บ้านจัดสรรหรือคอนโด ผู้ขายต้องเตรียมขอ "ใบปลอดหนี้" เพื่อยืนยันว่าไม่มีค้างชำระค่าส่วนกลางจากทางนิติของโครงการก่อน เพื่อนำไปเป็นหลักฐานในการโอนบ้านที่กรมที่ดินด้วยเช่นกัน    


แชร์บทความนี้

Popular Articles


Articles

เช่าบ้าน หรือ ซื้อบ้าน ดีกว่ากัน? 5 คำถามสำคัญก่อนตัดสินใจ

สำหรับผู้ที่กำลังเช่าบ้าน และเริ่มมีรายได้ที่มั่นคงมากขึ้น อาจเกิดคำถามว่า เราจะเช่าบ้านต่อไป หรือว่ ... Continue Reading...

ของมันต้องมี! เทรนด์ของแต่งบ้าน เปลี่ยนลุคห้องนอนให้สวยมินิมอล เรียบง่าย ในงบหลักร้อยถึงพัน

การแต่งบ้านแบบมินิมอล ยังคงเป็นทางเลือกยอดนิยมในยุคนี้ เนื่องจากความเรียบง่าย ดูสบายตา และสามารถปรับ ... Continue Reading...

อนุญาตให้ผู้เช่าเลี้ยงสัตว์เลี้ยงดีไหม ข้อดีและข้อเสียบ้านเช่าเลี้ยงสัตว์ได้มีอะไรบ้าง

เจ้าของบ้านที่ต้องการปล่อยเช่าบ้าน คอนโด มีประเด็นที่ต้องพิจารณาหลายประการ หนึ่งในนั้นคือการตัดสินใจ ... Continue Reading...

เที่ยวสยาม 1 วัน ทำอะไรดี? แจก 7 พิกัด กิน เที่ยว ช้อปปิ้ง

แหล่งรวมผู้คน กิจกรรม ห้างร้าน และความทันสมัยของกรุงเทพฯ ย่านใจกลางเมืองต้องยกให้กับ “สยาม” ไม่ว่าคุ ... Continue Reading...

อยากย้ายไปอยู่เชียงใหม่ ทำเลไหนน่าอยู่ ที่สุด

เชียงใหม่ ถือเป็นจังหวัดที่หลาย ๆ คนหลงรัก และบางคนถึงกับต้องการย้ายจากความวุ่นวายในเมืองกรุงฯ มาสู่ ... Continue Reading...